วีซ่าออกโครงการระดับโลก ช่วยเหลือ 10 ล้านร้านค้าในเอเชียแปซิฟิก เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวผ่านการค้าในรูปแบบดิจิตอล
วีซ่า ประกาศความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือ 10 ล้านธุรกิจขนาดย่อยทั่วเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้ร้านค้าท้องถิ่นสามารถผ่านพ้นจากวิกฤติโควิด-19 ไปได้ โดย วีซ่า ได้มีหลากหลายโครงการและโซลูชั่นที่จะมาช่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี – SME) ให้สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการเปิดรับการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลที่เป็นที่ต้องการมากขึ้นในปัจจุบันกับความต้องการในการชำระเงินในรูปแบบไร้เงินสด ไม่ว่าจะผ่านทางร้านค้าออนไลน์หรือหน้าร้านก็ตาม นอกจากนี้วีซ่ายังได้ก่อตั้ง สถาบันส่งเสริมเศรษฐกิจของวีซ่า [Visa Economic Empowerment Institute (VEEI)] ที่เน้นประเด็นทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรวมไปถึงความท้าท้ายของวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอี และลดช่องว่างในการทำงานระหว่างเชื้อชาติและเพศ
โดย 10 ล้านร้านค้าที่เข้าร่วมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลก ที่ วีซ่า จะให้การสนับสนุนจาก 50 ล้านร้านค้าขนาดเล็กทั่วโลก ธุรกิจขนาดเล็กจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เศรษฐกิจในแต่และชุมชนฟื้นตัวขึ้นมาได้ พวกเขามีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการจ้างงานทั่วโลก และเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตนในครั้งนี้ โดยในเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจเอสเอ็มอี มีมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมดและมีการจ้างแรงงานมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์
นอกจากผลกระทบทางเศรษฐกิจแล้ว โควิด-19 ยังช่วยเร่งสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าในรูปแบบดิจิตอล เพราะผู้คนเริ่มหาวิธีการใหม่ๆในการชำระเงินเพื่อลดการสัมผัส ตลอดจนการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการรณรงค์อยู่บ้านหยุดเชื้อจึงทำให้มีการซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่าในร้านค้า ในเอเชียแปซิฟิก 41 เปอร์เซ็นต์ ของผู้บริโภคมีการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซอย่างน้อยห้าครั้งในรอบสามเดือนที่ผ่านมา สามในสี่ของผู้บริโภคในภูมิภาคกล่าวว่าพวกเขาจะยังคงใช้วิธีการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลแทนที่จะกลับไปใช้เงินสด แม้ว่าวิกฤติในครั้งจะผ่านพ้นไปแล้วก็ตามที
“การค้าทั่วเอเชียแปซิฟิกได้ปรับตัวสู่ระบบดิจิตอลในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพราะผู้คนได้มีการสั่งซื้อสินค้าจำเป็นในช่องทางออนไลน์ ตลอดจนมองหาความปลอดภัย และลดการสัมผัสในการชำระเงิน” กล่าวโดย คริส คลาร์ก ประธานบริหาร ของวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “บทบาทของ วีซ่า ในฐานะที่เป็นเครือข่ายผู้ให้บริการชำระเงิน คือการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้สามารถปรับตัวเข้าสู่วิธีการบริหารใหม่เพื่อการเติบโตของธุรกิจ และเพื่อให้พวกเขามั่นใจได้ว่าจะสามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้”
เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก วีซ่าได้ออกสี่มาตรการในการส่งเสริมการค้าออนไลน์และการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมด้วยแผนงานในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งแบ่งออกเป็นมาตรากร ตามด้านล่างนี้
- ส่งเสริมธุรกิจให้เข้าสู่ระบบดิจิตอล: วีซ่าได้สร้างศูนย์รวมข้อมูลออนไลน์ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจะมีเครื่องมือต่างๆ รวมถึงข้อเสนอและข้อมูลจากพันธมิตรในการเริ่มต้นและดำเนินกิจการในรูปแบบดิจิตอลสำหรับธุรกิจร้านค้าขนาดเล็ก วีซ่าได้ร่วมมือกับอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มชั้นนำ อย่าง Shopify และ Boutir ในการช่วยเหลือร้านค้าท้องถิ่นให้สามารถรับการชำระเงินในรูปแบบออนไลน์ โดยวีซ่าจะขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรระดับโลกอย่าง IFundWomen ที่จะมาช่วยเหลือร้านค้าในเอเชียแปซิฟิก และให้ความรู้ในการทำการค้าในรูปแบบดิจิตอลแก่เจ้าของกิจการขนาดเล็กที่เป็นผู้หญิงในอินเดีย
- กระตุ้นการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอล: การทำให้การตอบรับเทคโนโลยีการชำระแบบไร้สัมผัสเป็นเรื่องง่าย มีความรวดเร็ว และมีมาตรฐาน ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยให้การค้ามีความคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น วีซ่าได้ดำเนินการเพื่อแนะนำวิธีการรับการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลที่ต้นทุนต่ำ รวมถึงโซลูชั่นที่สามารถลดระบบการทำงาน ณ จุดขาย และเปลี่ยนสมาร์ทโฟนของร้านค้าให้กลายเป็นจุดรับชำระเงิน โดยวีซ่าได้ร่วมกับพันธมิตรในการเปิดโซลูชั่นอย่าง Tap to Phone ผ่านสมาร์ทโฟนที่มาเลเซีย โดยจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก อย่าง ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย ไต้หวัน และเวียดนาม เป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ วีซ่า ยังได้สนับสนุนให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถทำการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลสำหรับ การทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจ (B2B) ด้วยการชำระเงินในการจัดซื้อจัดจ้างในรูปแบบดิจิตอลผ่านบัตรเครดิตเพื่อการทำธุรกิจของวีซ่า เอสเอ็มอีสามารถใช้เครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลและได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีประสิทธิภาพสูง วีซ่าได้รวบรวมข้อเสนอสุดพิเศษจากพันธมิตรมามอบให้แก่เอสเอ็มอีที่ใช้บัตรเครดิตเพื่อการทำธุรกิจของวีซ่า ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงแพลตฟอร์มบัญชีผ่านคลาวด์ การทำการตลาดในรูปแบบดิจิตอล และหลักสูตรสำหรับมืออาชีพ
- การให้การสนับสนุนพื้นที่ในชุมชน: การเป็นพันธมิตรร่วมกับวีซ่าช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าท้องถิ่นมากขึ้น และยังเป็นการตอกย้ำว่าสถานที่ที่พวกเขาเลือกซื้อนั่นสำคัญ โครงการ Back to Business ของวีซ่า ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาร้านค้าที่ยังเปิดให้บริการในช่วงวิกฤติหรือภัยธรรมชาติ ซึ่งตอนนี้เปิดให้ใช้บริการแล้วในรูปแบบออนไลน์ที่ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา และจะมีการขยายไปทั่วโลกในลำดับถัดไป ล่าสุด วีซ่าเปิดตัวโครงการ “Where You Shop Matters” ที่ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ และกระตุ้นให้ผู้บริโภคสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กมากขึ้น โดยวีซ่าจะขยายโครงการนี้ไปยังตลาดเอเชียแปซิฟิกอื่นๆ เช่นฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ในอนาคต
- การพัฒนาจุดยืนและนโยบาย: นอกเหนือจากความคิดริเริ่มในการสร้างโครงการ “Where You Shop Matters” วันนี้ วีซ่า ได้ประกาศถึงการจัดตั้งของสถาบันส่งเสริมเศรษฐกิจ ที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหา เจาะลึกการเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อยและการเปลี่ยนแปลงช่องว่างของความแตกต่างทางเชื้อชาติและเพศ โดยโครงการหลักที่จะเกิดขึ้นในระยะหกเดือนข้างหน้าจะมุ่งเน้นในเรื่องของการฟื้นฟูและการกลับคืนสู่สภาวะปกติภายหลังวิกฤต การเปลี่ยนแปลงในชุมชนเมือง การกำจัดช่องว่างด้านโอกาสในความเท่าเทียมกัน และข้อมูลเชิงลึกเพื่อเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจแบบอาชีพอิสระ (gig economy)
สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการในครั้งนี้ วีซ่าประเทศไทย ได้นำเอาความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาช่วยเหลือพร้อมร่วมงานกับพันธมิตรฟินเทค เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดย่อยและขนาดย่อมสามารถก้าวสู่การทำธุรกิจในรูปแบบดิจิตอลได้ โดยโครงการ Everyone Speaks Visa ที่เพิ่งเปิดตัวไปจะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใดก็สามารถรับการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลที่ทั้ง รวดเร็ว สะดวก และปลอดภัยได้ ณ ตอนนี้ธุรกิจเริ่มกลับมาตื่นตัวอีกครั้งและผู้บริโภคได้เริ่มกลับไปเลือกซื้อสินค้าที่ร้านค้ามากยิ่งขึ้น วีซ่ายังคงตั้งมั่นที่จะมอบประสบการ์การค้าที่ดีให้ทั้งแก่ผู้ซื้อและผู้ขายด้วยการเปิดรับการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอล โดยวีซ่าได้ร่วมมือกับร้านค้าพันธมิตรทั่วประเทศในการเพิ่มจุดรับชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลส เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบันที่ผู้คนมองหาการชำระเงินแบบดิจิตอลที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”
การประกาศในวันนี้ต่อยอดความมุ่งมั่นของวีซ่า จากมูลนิธิวีซ่า (Visa Foundation) ที่ได้ประกาศไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาในการจัดเตรียมเงินมูลค่า 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อบรรเทาความเสียหายจากวิกฤตโควิด-19 และเป็นแผนระยะยาวในการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมและรายย่อยต่อไปในอีกห้าปีข้างหน้า
ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการค้า วีซ่ายังคงมุ่งมั่นที่จะใช้เครือข่ายระดับโลกในการช่วยให้ธุรกิจปรับตัว ฟื้นตัว และทุกคนสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างปกติ