“รถไฟฟ้าไฮโดรเจน” เปิดให้บริการครั้งแรกของโลกแล้วที่เยอรมนี
- อัลสตรอมเริ่มผลิตรถไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนแล้วในเยอรมนี
- จะเริ่มเปิดใช้รถไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนในเส้นทางจาก Cuxhaven ถึง Buxtehude ในเยอรมนีระยะทาง 100 กิโลเมตร
ผู้โดยสารรถไฟฟ้าในเยอรมนีใกล้จะได้นั่งรถไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนขบวนแรกของโลกแล้ว ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของโลกที่เครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจนจะมาแทนที่เครื่องยนต์ดีเซลแบบเก่าที่เราคุ้นเคยกันมานาน
เที่ยวปฐมฤกษ์ของรถไฟฟ้าไฮโดรเจนออกเดินทางออกจากสถานี Bremervörde ใน Lower Saxony เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นับเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของเทคโนโลยีการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าไฮโดรเจน
เครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจนที่เข้ามาแทนที่เครื่องยนต์ดีเซลจะวิ่งเส้นทางระหว่างเมือง Cuxhaven กับ Buxtehude ระยะทาง 100 กิโลเมตร โดยรถไฟฟ้าไฮโดรเจนถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทอัลสตอม (Alstom) ผู้ผลิตรถไฟฟ้ารายใหญ่จากประเทศฝรั่งเศส
ทางด้านซีอีโอของอัลสตอม นาย Henri Poupart-Lafarge ได้กล่าวว่า “รถไฟฟ้าไฮโดรเจนขบวนแรกกำลังเข้าให้บริการในเชิงพาณิชย์แล้วพร้อมไปกับการเริ่มการผลิตในโรงงาน”
รถไฟฟ้าไฮโดรเจนจะมีถังไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิงอยู่บนหลังคาเพื่อเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานส่วนเกินจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เครื่องยนต์สามารถวิ่งได้ประมาณ 1,000 กิโลเมตรโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง และสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเครื่องยนต์ไฮโดรเจนจะผลิตเพียงน้ำและไอน้ำและมีเสียงเงียบพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำอีกด้วย
Lower Saxony ต้องจ่ายเงินราว 81.3 ล้านยูโร หรือ 95 ล้านดอลลาร์สำหรับการซื้อรถไฟฟ้าไฮโดรเจนในครั้งนี้ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการระยะยาวของรัฐบาลเยอรมนีในการใช้พลังงานทดแทนภายในปี 2050
อัลสตอมกล่าวว่ามีอีกหลายประเทศที่ให้ความสนใจรถไฟฟ้าไฮโดรเจนอาทิ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ อิตาลี และแคนาดา ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสมีแผนจะเริ่มใช้รถไฟฟ้าไฮโดรเจนภายในปี 2022
Source: DW