ธนาคารโลกหั่นจีดีพีไทยเหลือ 3.5% การเมืองยังเป็นปัจจัยเสี่ยง
ธนาคารโลก (World Bank) ได้ออกรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับกรกฎาคม 2562 พบว่าเศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตที่ช้าลง โดยไตรมาสแรกของปี 2562 เติบโตต่ำกว่า 3% อยู่ที่ 2.8% นับเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่กลางปี 2558 เป็นต้นมา ทั้งนี้ทางธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอการเติบโตจากเดิม ร้อยละ 4.1 มื่อปี 2561 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในปี2562 และคาดว่าจะโตร้อยละ 3.6 ในปี2020
ปัจจัยต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
ขณะที่การส่งออกหดตัวเหลือร้อยละ 4 ในไตรมาสแรกของปี 2562 นับเป็นการหดตัวไตรมาสแรกในรอบสามปี การลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคของครัวเรือนยังคงเติบโตใกล้เคียงกับระดับสูงสุดที่เคยมีมาในรอบสามปีที่ผ่านมาโดยได้รับปัจจัยด้านบวกจากอัตราเงินเฟ้อต่ำ การเพิ่มการจ้างงาน และการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อมาใช้ดำเนินการในส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงเนื่องจากความล่าช้าในโครงการขนาดใหญ่
ขณะที่ตัวเลขหนี้สาธารณะในรายงานระบุว่านปี 2562 ระดับหนี้สาธารณะอยู่ที่ 42.6% ของจีดีพี ในปี 2563 อยู่ที่ 43.2%ของจีดีพี และในปี 2564 อยู่ที่43.7% ต่อจีดีพี โดยมีอัตราขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นจาก -0.1%ต่อจีดีพี เป็น -0.3 % ต่อจีดีพีในปี2564
ในส่วนของการลงทุนจากต่างประเทศในรูปการลงทุนทางตรง ( Foreign Direct Investment: FDI) ในรายงานระบุว่าตัวเลขที่เป็นการลงทุนจากต่างประเทศสุทธิโตอยู่ที่0.1%ต่อจีดีพี ในปี 2562 0.2%ต่อจีดีพี ในปี 2563 และ 0.5%ต่อจีดีพี ในปี2564
สำหรับปัจจัยทางการเมือง ธนาคารโลกมองว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยืดเยื้อเป็นความเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจไทย มีความกังวลของรัฐบาลผสม19 พรรคจะส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน รวมทั้งอาจส่งผลต่อความล่าช้าต่อการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่กำหนดเวลาไว้อาจคลาดเคลื่อนไปได้
ทางธนาคารโลกยังมองว่าปัจจัยภายนอกมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้เติบโตช้าลง โดยมีปัจจัยได้แก่ ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนอย่างต่อเนื่องอาจมีผลให้ความต้องการสินค้าส่งออกจากประเทศไทยลดลง และไม่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนในอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก
Fintech กับตลาดการเงินไทย
ภายในรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุดนี้มีหัวข้อพิเศษเรื่องการให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) พบว่าไทยมีความก้าวหน้าระดับก้าวกระโดดพบว่าคนไทยในระดับผู้ใหญ่กว่าร้อยละ 82 มีบัญชีธนาคารเป็นของตัวเอง
ไทยมีฟินเทคที่กำลังดำเนินการอยู่ราว 140 กิจการโดยเกือบครึ่งหรือ 43% เน้นไปที่ digital payment แต่ทั้งนี้การดำเนินการส่วนใหญ่เป็นบริษัทลูกของธนาคารขนาดใหญ่ในไทย ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ของไทยได้ตั้งฟินเทคโดยโฟกัสไปที่ Venture Funds และศูนย์นวัตกรรมเพื่อเน้นเรื่องการสนับสนุนฟินเทคมากขึ้น
ทั้งนี้การขยายตัวของบริการทางการเงินดิจิทัลสามารถเข้ามาช่วยในการบรรเทาความเท่าเทียมกันของรายได้ที่เพิ่มขึ้นหรือการลดความเหลื่อมล้ำลง ทางธนาคารโลกให้ความสำคัญกับการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนระบบนิเวศของฟินเทคให้เกิดขึ้น
รวมไปถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างธนาคารพาณิชน์กับบริษัทฟินเทค การปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานออกกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อสร้างตัวอย่างสนามทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน การส่งเสริมแนวคิดใหม่ๆ อาทิ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและการให้ทุนสนับสนุนผู้ประกอบการใหม่ รวมถึงการจับคู่ทุนที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้บริษัทฟินเทคได้เริ่มต้นกิจการในประเทศไทย
Source: World Bank