Spiber บริษัทผู้ผลิตใยแมงมุมสังเคราะห์ชั้นนำของญี่ปุ่นเตรียมเปิดโรงงานผลิตในไทย
Spiber บริษัท Startup ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากญี่ปุ่นได้ประกาศการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยอัดเงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านเยน หรือประมาณ 44 ล้านเหรียญ สำหรับการสร้างระบบการผลิตใยแมงมุมสังเคราะห์ (Spider Silk protein)
โดยการลงทุนนี้มีเป้าหมายสำคัญคือ การผลิตโปรตีนเส้นใยแมงมุมสังเคราะห์ให้มีความทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆได้หลายประเภท ตั้งแต่ ยา สิ่งทอ รวมไปถึงชิ้นส่วนยานยนต์
ทำไมต้องประเทศไทย
ในส่วนของ Spiber ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะชนถึงการลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งตามรายงานระบุว่า บริษัทและนักลงทุนหลายรายในญี่ปุ่นได้ร่วมกันลงทุนกับ Spiber เป็นมูลค่ากว่า 2.24 หมื่นล้านเยน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดกับบริษัท Startup ในญี่ปุ่นเลยทีเดียว
ทางด้าน Spiber ก็ได้วางแผนที่จะผลิตโปรตีนใยแมงมุมหลายร้อยตัน เพื่อขยายขอบเขตการลงทุน โดยเฉพาะการเข้ามาในไทย ซึ่งทางผู้บริหารของบริษัทคือนาย Kazuhide Sekiyama ได้กล่าวไว้ว่า
“กำลังการผลิตในโรงงานในประเทศไทยจะมีกำลังการผลิตมากกว่าที่ญี่ปุ่นถึง 100 เท่า และจะเป็นหนึ่งในโรงงานผลิตเส้นใยแมงมุมสังเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก”
ปัจจุบัน ประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรที่มีความต้องการสำหรับการผลิตเป็นจำนวนมาก และถูกจับตามองว่าจะเป็นช่องทางตลาดหรือเป็น Hub สำหรับผู้ผลิตกลุ่มเครื่องนุ่มห่มและชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งสองธุรกิจนี้เป็นเป้าหมายที่ทาง Spiber ได้เล็งเอาไว้
Spiber มาจากไหน
สำหรับที่มาของ Spiber ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2007 โดยเป็น Startup จากมหาวิทยาลัยเคโอะ ที่ได้ศึกษาวิจัยทางด้านการสังเคราะห์ใยแมงมุมสำหรับประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม โดยเริ่มก่อตั้งที่เมืองสึรุโอกะ ในจังหวัดยามากาตะ ผลงานสำคัญชิ้นแรกของบริษัทคือ การวิจัยเทคโนโลยีสำหรับการผลิตโปรตีนไหมในปริมาณมากที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งพบว่ามีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมากกว่าเส้นใยไนล่อน และแข็งแกร่งกว่าเหล็กถึงสี่เท่า
ด้วยราคาของการผลิตใยแมงมุมสังเคราะห์ขึ้นมาที่ยังสูงอยู่มาก ทำให้ยังห่างไกลที่จะสามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์ แต่ทางนาย Sekiyama ผู้บริหารของบริษัทก็กล่าวว่า เขาคาดว่ามันน่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้มากกว่านี้ โดยอยู่ที่ระหว่าง 40-50 เหรียญต่อกิโลกรัม
ลงทุนอะไรในไทยบ้าง
ทางบริษัท จะเข้ามาลงทุนสร้างระบบ Facitity ที่จำเป็นสำหรับการผลิตดังกล่าว โดยจะเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 ในปีหน้า และคาดกว่าการผลิตจะเริ่มขึ้นได้จริงในช่วงปี 2021 สำหรับโปรตีนที่ผลิตขึ้น
“การสังเคราะห์โปรตีนไหมจากดังกล่าว จะกลายเป็นนวัตกรรมสำคัญสำหรับคนรุ่นถัดไป” นาย Yuji Kato ผู้บริหารของ Cool Japan Fund หนึ่งในบริษัทผู้ร่วมลงทุนได้กล่าวไว้
ทางด้านนาย Sekiyama ก็ได้อ้างว่า Qmonos ซึ่งเป็นผู้ลงทุนใหญ่ สามารถทำให้อุตสาหกรรมนี้ขยายตัวในวงกว้างได้ โดยคาดหวังว่า จะสามารถช่วยทดแทนสำหรับความต้องการทางด้าน Fiber ได้อย่างน้อย 15-20%
สำหรับในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทาง Spiber ได้รับการจัดสรรงบประมาณกว่า 5,000 ล้านเยน จากบรรดาสปอนเซอร์ผู้ร่วมทุน โดยแบ่งเป็น 3,000 ล้านเบนจาก Cool Japan Fund แม้ว่าทางบริษัทจะไม่ได้เปิดเผยถึงผู้ลงทุนรายอื่นๆ ก็ตาม แต่ก็มีการมองถึงการเพิ่มจำนวน Partners อีกอย่างน้อย 5 รายเพื่อการพัฒนาต่อไป
ปัจจุบัน Spiber มีพนักงานในสังกัดกว่า 200 คน จัดว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีศักยภาพสูงมากในญี่ปุ่น มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านเยน และยังมองถึงโอกาสที่จะเพิ่มการลงทุนขึ้นอีกในอนาคตด้วย
Source: Nikkei