16-09-2019

ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของคน Gen Z กับโซเชียลมีเดีย

บทความโดย
  • สำหรับกลุ่ม Gen Z ชาวไทยแล้ว อินสตาแกรมเป็นแหล่งยอดฮิตอันดับต้น ๆ สำหรับหาแรงบันดาลใจเพื่อตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี
  • 51% ของชาวไทยในกลุ่ม Gen Z เชื่อถือคำแนะนำของคนที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว อย่างอินฟลูเอนเซอร์และ เซเลบริตี้
  • 1 ใน 4 (26%) ของคนชาวไทยในกลุ่ม Gen Z ซึ่ง “สนุกกับการถ่ายรูป” นั้น ถ่ายภาพมากกว่า 50 ภาพต่อวันในช่วงที่ไปเที่ยว และชอบที่จะแชร์ภาพแบบสาธารณะ โดยมี 56% เลือกแชร์บนโซเชียลมีเดีย
  • อย่างไรก็ตาม Gen Z ชาวไทยเกินครึ่ง (53%) คิดว่ามีการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปตอนที่เดินทาง

Rear view of woman enjoying the spectacular view over Victoria Harbour and taking picture of Hong Kong city skyline with smartphone on a sunny day

มีความสงสัยมากมายเกี่ยวกับคน Gen Z และพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย พวกเขารู้สึกเบื่อบ้างไหม? คนกลุ่มนี้ยังแชร์เนื้อหาต่าง ๆ กันอยู่หรือเปล่า? คน Gen Z เอาแต่เชื่ออินฟลูเอนเซอร์งั้นหรือ? ทั้งนี้ Booking.com ผู้นำด้านการเดินทางออนไลน์ ซึ่งเชื่อมโยงผู้เดินทางเข้ากับตัวเลือกที่พักมีเอกลักษณ์หลากหลายประเภท ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่ห้ามพลาดเมื่อเดินทาง และตัวเลือกด้านการเดินทางอย่างราบรื่น ได้ทำการสำรวจครั้งใหม่ที่เผยให้เห็นว่า แม้ผู้เดินทาง Gen Z จะเป็นนักเที่ยวแบบเน้นทัศนียภาพและขยันถ่ายภาพลงโซเชียล แต่ความมุ่งมั่นของคนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในกรอบขนาด 1080 พิกเซลของ อินสตาแกรม เท่านั้น

ได้เห็นก็คือได้ไปพัก

มีคำกล่าวว่าภาพหนึ่งภาพสามารถแทนคำนับพัน ซึ่งสำหรับคน Gen Z หนึ่งในคำเหล่านั้นต้องมีแฮชแท็ก #travel และ #inspo’ อยู่ด้วย โดย Gen Z ชาวไทยมากกว่าครึ่ง (64%) ชอบที่จะดูโพสต์และภาพถ่ายเกี่ยวกับการเดินทางบนโซเชียลมีเดีย และเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี คน Gen Z ก็จะตรงไปดูฟีดของตัวเอง โดย 30% ของคนวัยนี้เลือกให้ฟีดโซเชียลมีเดียเป็นแหล่งแรงบันดาลใจชั้นยอดด้านการเดินทาง

ผู้หญิงไทยในกลุ่ม Gen Z นั้นมีแนวโน้มมากกว่า ที่จะจินตนาการภาพทริปพักผ่อนครั้งถัดไประหว่างเลื่อนดูโซเชียลมีเดีย (39%) โดยความเชื่อมั่นในอินสตาแกรมของกลุ่มนี้ ทิ้งห่างจากค่าเฉลี่ยของคนใช้อินสตาแกรมทั่วประเทศ (31%) และบรรดาคนยุคมิลเลนเนียล (36%) ทั้งนี้ เมื่อต้องเลือกจุดหมายใหม่ ๆ ที่จะไปเยือน คน Gen Z ชาวไทยมากกว่าครึ่ง (60%) กล่าวว่าได้รับอิทธิพลจากอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย และ 51% กล่าวว่าปกติแล้วเชื่อถือคำแนะนำด้านการเดินทางของอินฟลูเอนเซอร์

แรงบันดาลใจสำหรับคน Gen Z ไม่ได้มาจากแค่หน้าจอสมาร์ทโฟนเท่านั้น เพราะผู้ทำแบบสอบถาม 28% ระบุว่าได้แรงบันดาลใจเรื่องจุดหมายในการเดินทาง จากการดูภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ ซึ่งทำให้อยากไปเห็นสถานที่ดังกล่าวด้วยตาตัวเอง นอกจากนี้ คำแนะนำด้านการเดินทางก็ยังมาจากสังคมออฟไลน์ด้วยเช่นกัน โดย 25% หาข้อมูลวงในจากกลุ่มเพื่อน

ขยันถ่ายภาพลงโซเชียล

ไม่ว่าจะเป็นหน้าฟีดของอินฟลูเอนเซอร์หรือของตัวเอง Gen Z ชาวไทยกว่า 60% ต่างกล่าวว่าสนใจการเดินทางไปจุดหมายที่ถ่ายภาพออกมาดูดี มากกว่าครึ่ง (56%) กล่าวว่าเมื่อเดินทางจะอัปโหลดภาพจากทริปลงโซเชียลมีเดียเสมอ แต่ก็ยังน้อยกว่าผู้ใช้ยุคมิลเลนเนียล ที่อัปโหลดรูปลงโซเชียลมีเดียถึง 67% เลยทีเดียว

ระหว่างการไปเที่ยวของคน Gen Z ชาวไทยพบว่า 29% ถ่ายภาพโดยเลี่ยในแต่ละวันอยู่ที่ 10-30 ภาพ โดยหนึ่งในสี่ของผู้เดินทางชาวไทยในกลุ่ม Gen Z (26%) สนุกกับการถ่ายภาพ ซึ่งถ่ายภาพมากกว่า 50 ภาพต่อวัน

คน Gen Z เป็นรุ่นแรกที่ได้โตมาเป็นชาวดิจิตอลโดยกำเนิด จึงไม่น่าแปลกใจที่จะใช้ชีวิตแบบขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้ โดย 53% ให้ความสำคัญกับ Wi-Fi มากที่สุดในช่วงไปเที่ยว ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าคนรุ่นอื่น ๆ และคน Gen Z ยังเลือกให้ Wi-Fi เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอันดับต้น ๆ ที่อยากได้จากที่พักอีกด้วย

Asian woman tourists are taking photos With a smartphone at the Wat Arun temple on vacation Bangkok Thailand.

(ไม่ได้) ทำเพื่อแค่ให้ได้ภาพลงอินสตาแกรม

แรงกระตุ้นของคน Gen Z ไม่ได้มีเพียงอินสตาแกรม เพียงอย่างเดียว เพราะคนกลุ่มนี้ก็ตระหนักถึงความสำคัญของประสบการณ์ที่ได้จากไปเที่ยว โดยสองในสาม (69%) กล่าวว่าอยากโฟกัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและดื่มด่ำกับช่วงเวลาต่าง ๆ แทนที่จะเอาแต่ถ่ายภาพลงโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าภาพถ่ายสำหรับลงโซเชียลนั้นเป็นเพียงของแถมจากการเดินทาง สำหรับคนรุ่นนี้ที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์แล้ว หลายคนต่างก็อยากใช้ชีวิตแบบออฟไลน์ เพราะ 53% กล่าวว่า พวกเขาเชื่อว่ามีการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปในช่วงเดินทาง ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้จะยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพฤติกรรมการชอบใช้ หรือ “ถูกใจ” โซเชียลมีเดียของคน Gen Z แต่การก้มหน้าดูจอ คงไม่สามารถขัดขวางประสบการณ์การเดินทางของจริง ในชีวิตจริงของพวกเขาได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน


หมายเหตุ

*การสำรวจข้อมูลนี้เป็นงานวิจัยอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจาก Booking.com ซึ่งสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 21,807 คนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ขึ้นไป (25% อยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี) ใน 29 ประเทศ/ภูมิภาค (ประเทศ/ภูมิภาคที่มีผู้เข้าร่วม 1,000 คน ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี จีน บราซิล อินเดีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร รัสเซีย อินโดนีเซีย โคลอมเบีย และเกาหลีใต้ ส่วนประเทศ/ภูมิภาคที่มีผู้เข้าร่วม 600 คน ได้แก่ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ไทย อาร์เจนตินา เบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฮ่องกง โครเอเชีย ไต้หวัน เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สิงคโปร์ และอิสราเอล) การสำรวจข้อมูลมีขึ้นในระหว่างวันที่ 1 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยเป็นแบบสอบถามทางออนไลน์ การสำรวจและคัดผู้เข้าร่วมทั้งหมดดำเนินการโดย Vitreous World และวิเคราะห์ข้อมูลโดย Ketchum Analytics เว้นแต่จะระบุเป็นอื่น