ไวรัสโควิดทุบเศรษฐกิจไทยร่วงติดลบ 5.3% พร้อมออกมาตรการช่วย SME
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่องและแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆเพิ่มมากขึ้นทำให้มีการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะตัวลงแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ทำให้คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี
การระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปีก่อน โดยธปท. ได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเศรษฐกิจไทยประจำปี 2563 ไว้อยู่ที่ ติดลบ 5.3%
ทางกนง.เห็นว่าการระบาดของ COVID-19 ในระยะข้างหน้ายังมีความรุนแรง รวมทั้งจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สนับสนุนมาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุดของรัฐบาลที่ได้ประกาศไปแล้ว รวมทั้งจะต้องดำเนินการช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องและเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ โดยเฉพาะครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมเพิ่มเติม
เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวแรงเนื่องจากการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของ COVID-19 การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าและการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตในหลายประเทศ ส่งผลให้รายได้ของธุรกิจและครัวเรือนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างขึ้น เป็นผลให้อุปสงค์ภายในประเทศทั้งการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัว
ในสถานการณ์นี้ทางกนง.เห็นว่า มาตรการด้านการคลังจะต้องเป็นกลไกหลักในการบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินจะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ และช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวในปี 2564 หากสถานการณ์การระบาดคลี่คลายลง
ขณะที่ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์ยังมีระดับเงินกองทุนละเงินสำรองที่เข้มแข็งอยู่ อย่างไรก็ตามระบบการเงินมีความเปราะบางมากขึ้นในบางจุด โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ที่อาจด้อยลงในช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวแรง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานมาตรการทั้งทางการเงินและการคลังเพื่อดูแลครัวเรือนและธุรกิจ SMEs
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเริ่มเข้าสู่การติดลบ โดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ -1.0% ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน เดือนมีนาคมอยู่ที่ -1.5% การลงทุนภาคเอกชนอยู่ที่ -4.3% มูลค่าการส่งออก-8.8% มูลค่าการนำเข้า -15.0%
มาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL
- บัตรเครดิตและสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่า จากเดิม 10% เหลือ 5% (ในปี 2563-2564) 8%(ในปี 2565)10%(ในปี 2566) นอกจากนี้ ลูกหนี้สามารถแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาวที่ดอกเบี้ยต่ำลงได้
- สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ผ่อนชำระเป็นงวด (installment)และ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
- ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI)เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
- ผู้ให้บริการอื่นเลือกดำเนินการระหว่าง เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน หรือลดค่างวดอย่างน้อย 30%ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 เดือน
- สินเชื่อเช่าซื้อ (Hire purchase) ได้แก่
(1) รถมอเตอร์ไซค์ : วงเงินไม่เกิน 35,000บาท
(2) รถทุกประเภท : วงเงินไม่เกิน 250,000 บาท
และ ลีสซิ่ง (Leasing)มูลหนี้คงเหลือไม่เกิน 3ลบ.- ผู้ให้บริการเลือกดำเนินการระหว่าง
•เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา3เดือน หรือ
•พักชำระหนี้เงินต้น เป็นเวลา 6 เดือน
- ผู้ให้บริการเลือกดำเนินการระหว่าง
- สินเชื่อธุรกิจ SMEs ไมโครไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์วงเงินไม่เกิน 20ลบ. และ สินเชื่อบ้าน วงเงินไม่เกิน 3ลบ.
- พักชำระเงินต้น 3เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามสถานการณ์ของแต่ละราย