จีน และ ญี่ปุ่น เตรียมทุ่มเงินยกระดับคมนาคมเมียนมาร์เชื่อม OBOR
- จีนและญี่ปุ่นเตรียมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมโดยเฉพาะการขนส่งทางรางระหว่างประเทศ
- จีนจะลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของOne Belt One Road เพื่อขนส่งสินค้าจากจีนออกมหาสมุทรอินเดีย
- ญี่ปุ่นเตรียมยกระดับการขนส่งในนครร่างกุ้ง พร้อมยกระดับการขนส่งระหว่างเมืองร่างกุ้งและเมืองมัณฑะเลย์
จีนและญี่ปุ่น กำลังดำเนินการวางแผนเพื่อยกระดับทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งระหว่างประเทศ โดยโครงการนี้จะช่วยยกระดับให้คุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในภูมิภาคได้ดีขึ้นต่อไป
มีรายงานจากรัฐบาลจีนที่ปักกิ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เกี่ยวกับเป้าหมายของแผนการระยะยาวในการสร้างท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิว (Kyaukpyu Deep Sea Port) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ลงทุนโดยประเทศจีน ท่าเรือแห่งนี้จะสามารถช่วยขนส่งสินค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ออกไปยังมหาสมุทรอินเดียโดยตรง จึงนับว่าเป็นฐานสำคัญทางด้านเศรษฐกิจระหว่างจีน-พม่า ซึ่งจะเชื่อมไปยังเส้นทางขนส่งจากที่นี่ รวมถึงทางรถไฟกับทางด่วนของเขตชายแดนจีนด้วย
เกี่ยวกับโปรเจคท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิว เป็นสัญลักษณ์ของยุทธศาสตร์ One Belt One Road ภายใต้การผลักดันของสีจิ้นผิง ผู้นำจีน เนื่องจากจะสามารถทำให้จีนสามารถเชื่อมต่อออกไปถึงมหาสมุทรอินเดียได้โดยตรง แล้วยังรวมถึงการเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจากจ๊อกพยิวไปที่จีนด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น โปรเจคนี้ยังมีความสำคัญคือการเปิดเส้นทางลัดไปสู่เกาะมะละกา ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และจีนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่องของระยะเวลาขนส่ง การลดความเสี่ยงและต้นทุนต่างๆ
แต่ในขณะที่จีนกำลังรุกคืบ ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่ทำการยกระดับเส้นทางเชื่อมต่อจากเมืองร่างกุ้ง ซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของพม่า และเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ
สำหรับเส้นทางดังกล่าวจะเริ่มการก่อสร้างภายในสัปดาห์หน้า เป็นระยะทางกว่า 620 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมโยงเมืองใหญ่ที่สุดทั้งสองแห่งดังกล่าว และการเชื่อมเส้นทางเหนือ-ใต้ของประเทศเข้าด้วยกัน โดยจะช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางจากเดิม 15 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 7 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประชาชน
เมื่อกล่าวถึงประเทศเมียนมาร์ หลังจากยุคสมัยภายใต้การปกครองของกองทัพมาเป็นเวลานาน เมียนมาร์ก็เริ่มมีประชาธิปไตยมากขึ้น หลังจากเริ่มให้มีการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2015 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงการเข้ามาลงทุนจากต่างชาติ โดยทางธนาคารโลกได้ประเมินถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาร์ขึ้นที่ 6.9% แล้วหลังจากนั้นสามปี เมียนมาร์ก็กลายเป็น หนึ่งในประเทศที่มีการเข้ามาลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก
PriceWaterhouseCoopers เรียกเมียนมาร์ว่า “หนึ่งในประตูบานสุดท้ายของตลาดในเอเชีย”
นอกจากนี้ จีนและญี่ปุ่นยังมีลักษณะที่แตกต่างไปจากชาติตะวันตก จากท่าทีในกรณีปัญหาในระดับชาติเกี่ยวกับความขัดแย้งทาเชื้องชาติใน จากกรณีที่เมียนมาร์ปฏิบัติต่อพวกมุสลิมโรฮิงญา
ทางด้านรัฐบาลเมียนมาร์ ก็ให้ความสำคัญกับโปรเจคนี้มาก โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเมียนมาร์ได้ให้ทัศนะว่า “ท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิว จะช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบขนส่ง Logistics ภายในเมียนมาร์เอง ไม่ใช่แค่กับจีนและเมียนมาร์เท่านั้น แต่จะได้รับประโยชน์ทั้งประเทศด้วย”
นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า โปรเจคดังกล่าวได้มีการตกลงความร่วมมือกับบริษัท CITIC ยักษ์ใหญ่ของจีน ในการเริ่มพัฒนาสาธารณูปโภคของท่าเรือแห่งนี้ต่อไป
ในรายงานยังระบุเพิ่มว่า สำหรับการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจของ จีน-เมียนมาร์ ได้เริ่มการลงนามในสัญญาครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อ ท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิว กับทางรถไฟและเส้นไฮเวย์ของจีนในเส้นทางภาคตะวันออก-ตะวันตก ผ่านเมืองมัณฑะเลย์ ในขณะที่อีกเส้นจะวิ่งผ่านทางเมืองร่างกุ้ง ซึ่งจีนก็มีการวางแผนงานที่จะพัฒนาในด้านต่างๆต่อไป
สำหรับแผนการเฟสแรก อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท CITIC ในการสร้างท่าเรือเป็นมูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจีนจะเป็นหุ้นส่วนใหญ่ที่ครองสัดส่วนกว่า 70% ในขณะที่ฝั่งเมียนมาร์อยู่ที่ 30%
ในรายงานยังวิเคราะห์เกี่ยวกับท่าทีของรัฐบาลสหรัฐ ที่กำลังจับตาดูการดำเนินการต่างๆของรัฐบาลจีนในเวลานี้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ One Belt One Road แต่หลังจากความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง Electoral Vote ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ทำให้ทางการจีนได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ จากการถือหุ้นใหญ่ในท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิวของจีนอยู่ที่ 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเรื่องนี้สร้างความวิตกให้เมียนมาร์ว่าจะทำให้ประเทศต้องตกอยู่ในภาวะที่อาจจะตกอยู่ในสภาพติดกับดักหนี้ จึงมีความต้องการที่จะขอลดขนาดโครงการที่มีความเสี่ยงลง
ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นกลับเป็นประเทศที่สนับสนุนในการเติบโตของเมียนมาร์อย่างแข็งขัน แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่จีนหมายจะนำเมืองเนปิวดอว์กลับไปอยู่กับตน เหมือนเมื่อสมัยที่เมียนมาร์ยังปกครองด้วยรัฐบาลทหาร
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ ก็ได้มีการนัดประชุมร่วมกับ นางอองซานซูจี ผู้นำของเมียนมาร์ เพื่อสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงทั้งภาคธุรกิจเอกชนด้วย ซึ่งเมื่อสองปีก่อนหน้านี้ ก็ได้วางแผนประกาศสนับสนุนภาคธุรกิจเอกชนของเมียนมาร์ด้วยเงินลงทุนกว่า 8 แสนล้านเยน ครอบคลุมสัญญาเป็นเวลา 5 ปี
แผนดังกล่าวของญี่ปุ่นนั้น คือการพัฒนาให้เมืองร่างกุ้ง ทั้งด้านระบบขนส่ง Shipping โครงสร้างสาธารณูปโภค และระบบไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดนี้ยังเป็นเรื่องขาดแคลนอยู่มาก รวมถึงทุ่มเงินกว่า 2.6 แสนล้านเยน เพื่อสร้างทางรถไฟสมัยใหม่เพื่อเชื่อมต่อให้กับเมืองร่างกุ้งและเมืองมัณฑะเลย์อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น ญี่ปุ่นยังมองไปถึงโครงสร้างพื้นฐานในการเดินเรือทางแม่น้ำที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองทั้งสองนี้ โดยเวลานี้ทางญี่ปุ่นกำลังอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อจัดหางบประมาณราว 6,000 ล้านเยน เพื่อยกระดับท่าเรือของเมืองมัณฑะเลย์ รวมถึงการทำท่อและเครน ซึ่งก่อนหน้านี้ทางญี่ปุ่นเองก็ให้การสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างทางด้านอุตสาหกรรมในทีละวา ซึ่งเป็นเขตพิเศษทางเศรษฐกิจนอกเมืองร่างกุ้งมาแล้วด้วย
Source: Nikkei