บริษัทไอทียักษใหญ่ของโลกลงทุนวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำในเอเชีย
- ครึ่งหนึ่งของการวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเลใหม่ในเอเชียจะถูกลงทุนโดยบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง กูเกิ้ล เฟซบุ๊ค อเมซอน และบริษัทไอทียักษ์ใหญ่รายอื่นๆ
- 3 ปีนับจากนี้จนถึงปี 2020 จะมีการวางสายเคเบิ้ลเพิ่มอีก 137,000 กิโลเมตรผ่าน 18 ประเทศในเอเชีย
- ความต้องการอินเทอร์เน็ตในเอเียขยายตัวอย่างรวดเร็ว คาดว่าปริมาณข้อมูลจะขึ้นไปที่ 108 ล้านล้านล้านไบต์ภายในปี 2021
การลงทุนในเรื่องเคเบิ้ลใต้ทะเลเพื่อใช้ในการสื่อสาร กว่าครึ่งของสายเคเบิ้ลใหม่ที่จะวางในอีก 3 ปีข้างหน้าจะถูกลงทุนโดยบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง กูเกิ้ล อเมซอน หรือแม้กระทั่งเฟซบุ๊ค เพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการแบนด์วิธในอนาคต
โครงการวางสายเคเบิ้ลทั้งหมด 4 สายด้วยกัน หนึ่งในนั้นได้แก่ โครงการของGoogle ที่เชื่อมจากเกาะกวมไปประเทศจีน ซึ่งสายนี้จะสามารถเชื่อมให้ออนไลน์ได้ในปีหน้า
ปลายปี 2017 ทางเฟซบุ๊คและอเมซอนได้ร่วมกับบริษัท NTT Communications และ Softbank จากญี่ปุ่นเพื่อระดมทุนมาใช้ในโครงการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำระยะทางกว่า 14,000 กิโลเมตรเพื่อเชื่อมกับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จและใช้งานเส้นนี้ได้ในต้นปี 2020 โดยมีขีดความสามารถในการส่งข้อมูลที่ 60 เทราไบต์ต่อวินาที ขณะที่บริษัทไอทีอย่างไมโครซอฟท์เองยังสนับสนุนโครงการเคเบิ้ลใต้น้ำ
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาการขยายตัวของอินเทอร์เน็ตทำให้ความต้องการสายเคเบิ้ลใต้น้ำเพิ่มอีกมหาศาล ถ้านับจากปีนี้จนถึงปี 2020 จะมีการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำกว่า 137,000 กิโลเมตรซึ่งจะพร้อมให้บริการใน 18 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ข้อมูลจากบริษัทวิจัยทางด้านโทรคมนาคมจากสหรัฐอเมริกาประเมินไว้ว่า การ วางสายเคเบิ้ลใต้น้ำมีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 33% จากเดิมที่วางเคบิ้ลใต้น้ำระยะทาง 103,000 กิโลเมตรในช่วง3 ปีก่อนหน้า
ทั้งนี้การลงทุนวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตของการใช้อินเทอร์เนตในภูมิภาค รวมถึงการให้บริการมือถือไร้สายยุค 5G รวมทั้งการใช้ IoT ที่เพิ่มมากขึ้น ตอนนี้ปริมาณข้อมูลเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย -แปซิฟิก จะขึ้นไปที่ 108 ล้านล้านล้านไบทฺ์ในปี 2021
การวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำที่จะเชื่อสหรัฐฯกับเอเชียจะมี 4 โครงการใหญ่ โดยการวางสายเคเบิ้ลจะถูกแบ่งเป็นช่วงๆระหว่างปี 2018-2020 หรืออาจจะเป็นปีละ สองครั้งในช่วงสามปีตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป
เครือข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำจะเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างเอเชียและโอเชียเนีย โดยบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำอย่าง Telstra จะเข้าร่วมโครงการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำ 4,600 กิโลเมตรจากออสเตรเลียไปสิงคโปร์
ขณะที่ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศพันเกาะได้มีการตั้งโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนแบบ PPP เพื่อลงทุนสายเคเบิ้ลทั้งบนบกและใต้ทะเลระยะทาง 36,000 กิโลเมตรแบ่งออกเป็นสามช่วงด้วยกัน โดยมีเป้าหมายหลักคือการพัฒนาอีคอมเมิร์ซและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลในประเทศ
Source: Nikkei