ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าถือหุ้นบริษัทในตลาดหุ้นญี่ปุ่นกว่า 40% จากบริษัทจดทะเบียนในตลาด
- ตั้งแต่นโยบายผ่อนคลายทางการเงินหรือ QE ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นพิมพ์เงินจำมหาศาลออกมาได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในตลาดหุ้นโตเกียวกว่า40% โดยติด 1 ใน10 ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่เลยทีเดียว
ธนาคารญี่ปุ่นได้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญของบริษัทญี่ปุ่นจำนวนกว่า 40% ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นโตเกียว โดยการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนจำนวนมากนี้มาจากส่วนหนึ่งของนโยบายผ่อนคลายทางการเงินหรือ QE ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ)ในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้เงินไปราว 25 ล้านล้านเยน หรือ 2.27 แสนล้านเหรียญในการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทในตลาดหุ้นโตเกียว โดยยอดเงินที่ลงไปเกือบเป็น 4% การซื้อขายกันบนกระดานตลาดหุ้นญี่ปุ่นมูลค่าตลาดรวม 652 ล้านล้านเยน
การเข้าซื้อหุ้นในบริษัทจดทะเบียนผ่านกองทุน ETF ของธนาคารกลางญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2553 หลังการเกิดวิกฤตการเงินจากสหรัฐไม่นาน และได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มขึ้นเมื่อนาย Haruhiko Kuroda เข้ามารับตำแหน่งประธานธนาคารกลางญี่ปุ่นเมื่อปี 2556 และเป็นผู้ผลักดันนโยบายผ่อนคลายทางการเงินให้มีความเข้มข้นมากขึ้น
ตามข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น (Tokyo Stock Exchange, Inc. (TSE)) แสดงถึงการเข้าถือหุ้นทางอ้อมโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น เข้าไปถือหุ้นเป็นหนึ่งใน10 อันดับแรกของบริษัทจดทะเบียนจำนวนถึง 1,446 แห่งจาก 3,735 บริษัท ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
โดยปี 2560 ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าถือหุ้นบริษัทจดทะเบียนเพียง 833 บริษัท การเข้าถือหุ้นบริษัทจดทะเบียนของธนาคารกลางญี่ปุ่นขยายตัวมากถึง 70% นอกจากนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าถือหุ้นใน โตเกียวโดม, บริษัท ซัปโปโร โฮลดิ้ง, บริษัท Nippon Sheet Glass ผู้ผลิตกระจกรายใหญ่ รวมทั้งบริษัทการเงินอย่าง AEON
การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าซื้อETFs จำนวนมหาศาลมีเป้าหมายเพื่อผลักดัน “เป้าหมายเงินเฟ้อ” ให้ภึง 2% ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
ผลกระทบที่ตามมาคือหุ้นในตลาดที่ซื้อขายกันอาจหายากมากขึ้น กรณีที่ชัดเจนอย่างธุรกิจค้าปลีกเสื้อผ้าอย่าง Uniqlo มีสัดส่วนในETFs ค่อนข้างสูง ในแต่ละครั้งที่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าซื้อ ETFs จำนวน 1 ล้านล้านเยนจะเป็นการเข้าซื้อหุ้น Uniqlo กว่า 2 หมื่นล้านเยน ถ้าอัตราการเข้าซื้อเช่นนี้สูงขึ้นอีกต่อไปเรื่อยในปีหน้าหุ้น Uniqlo อาจไม่มีการซื้อขายเพราะหุ้นถูกซื้อออกไปหมด
หลังจากนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่น แม้ว่าจะยังไม่ถูกตั้งคำถามจากผู้ถือหุ้นเพราะยังได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นแต่ตลาดเองก็เริ่มกังวลในประเด็นเรื่องจำนวนหุ้นที่จะหายไปจากตลาดและการถอนเงินออกจากตลาดเมื่อยกเลิกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินจบลงซึ่งอาจต้องมีมาตรการอื่นเข้ามาเสริมเพื่อลดแรงกระแทกจากราคาหุ้นในตลาดตกอย่างรุนแรง
Source: Nikkei