ข้อกีดกันการค้าสำหรับสินค้าด้านการเกษตรในอาเซียนควรถูกยกเลิก
ก่อนหน้านี้มีกรณีที่รถบรรทุกส่งออกพริกไทยจากกัมพูชากว่า 98% ที่จะไปเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ต้องหยุดการขนส่งข้ามแดนเพราะปัญหาทับซ้อนกับรถบรรทุกของทางเวียดนามเอง
สำนักข่าว Nikkei (12 ธ.ค.) รายงานเกี่ยวกับความคิดเห็นว่า “ควรยกเลิกข้อกีดกันทางการค้าของสินค้าประเภทเกษตรกรรมในภูมิภาคอาเซียนหรือไม่”
เนื่องจากในภูมิภาคอาเซียนเอง ก็มีปัญหาเกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าของสินค้าประเภทเกษตรกรรม ซึ่งแต่ละประเทศก็เป็นผู้ส่งออกรายสำคัญด้วย มีหลายครั้งที่รถบรรทุกขนส่งสินค้ามากกว่าหนึ่งพันคันต้องไปติดอยู่ที่เส้นพรมแดนของแต่ละประเทศ เพราะติดขัดเรื่องปัญหาใบอนุญาต ซึ่งกว่าจะใช้เวลาจัดการให้ลงตัวได้ก็ต้องอย่างน้อย 2 วัน ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าหากสภาพเช่นนี้ยังคงเกิดขึ้นในระยะยาว อาจจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปสงค์ของสินค้าการเกษตรในอาเซียน ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นก็เป็นได้
แน่นอนว่า รัฐบาลของกลุ่มประเทศเป็นสมาชิกใน ASEAN ต่างก็มีการยกระดับทางการค้าและทำให้ข้อกีดกันทางการค้าของสินค้าหลายประเภทไม่ต้องเสียภาษีระหว่างในชาติสมาชิกของ ASEAN รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังทางการค้าให้กับภูมิภาคได้เข้มแข็งขึ้น ซึ่งสำหรับ ASEAN ก็ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีผลผลิตและการส่งออกทางด้านการเกษตรในวงกว้างอยู่แล้ว แต่ก็ถือว่ายังมี Yields และมูลค่ารวมของการส่งออกไม่มากนักหากเทียบกับในระดับโลก
ถ้ามองถึงศักยภาพในการสร้างผลตอบแทน (Yields) มีกรณีตัวอย่างเช่น กาแฟ Robusta ของเวียดนาม ซึ่งมีผลตอบแทนมากกว่า 3.5 MT/ha ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกกาแฟอันดับต้นๆของโลก ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับชาติในอาเซ๊ยนด้วยกันเองเช่น อินโดนีเชีย ซึ่งส่งออกกาแฟที่ 0.5 MT/ha ซึ่งถ้ามองย้อนไปจะพบว่าธุรกิจทางการเกษตรยังมีโอกาสเติบโตและให้ผลตอบแทนได้อีกมาก เช่น ผลผลิตข้าวโพดของเวียดนามเคยอยู่ที่ 1.17 ล้าน MT/ha ในปี 1995 ซึ่งเวลานี้ได้เฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 ล้าน MT/ha ตามรายงานจากกระทรวงการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสำหรับสหรัฐมีผลผลิตอยู่ที่ 11 ล้าน MT/ha
นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก World Bank ที่ระบุว่า ธุรกิจจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน สามารถสร้างรายได้ให้กับแต่ละประเทศมากถึง 35% ขณะที่ประชากรกว่า 70% ก็เป็นผู้ประกอบการและแรงงานในด้านการเกษตร รวมถึงชาวนานกว่าหลายล้านคนที่เป็นผู้ประกอบการในครัวเรือนและขนาดเล็กของตนเอง และยังคงอาศัยใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ทำกสิกกรรมของตนด้วย ดังนั้น การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรสำหรับห่วงโซ่อุปสงค์เพื่อการค้าในระดับประเทศจึงเป็นเรื่องจำเป็น สำหรับประเทศในอาเซียนทั้งหมด
มีการวิเคราะห์ว่า กุญแจสำคัญห้าข้อที่จะช่วยผลักดันในเรื่องนี้ก็คือ รัฐบาลของแต่ละประเทศต้องให้การสนับสนุนการสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในภาพเกษตรกรรม และพวกเขาควรกระตุ้นและยกระดับการส่งออกให้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ASEAN ก็ต้องประสานการทำงานร่วมกันทั้งในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานและขอบเขตทางการเงินด้วย
เป็นที่แน่ชัดว่า นโยบายของแต่ละรัฐบาลในภูมิภาคย่อมส่งผลกระทบต่อประเด็นนี้ เช่นความสำเร็จของเวียดนามที่สามารถยกระดับการผลิตเมล็ดกาแฟให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การจัดอบรมให้กับผู้ประกอบการรายย่อย และการนำเสนอผลิตภัณฑ์รวมถึงประชาสัมพันธ์และการประสานกับภาคเอกชน
สำหรับอินโดนีเชียอาจจะตามหลังในแง่นี้เมื่อดูจากตัวเลขที่แสดงออกมา แต่พวกเขาก็กำลังอยู่ในเส้นทางที่พยายามจะยกระดับเรื่องของผลตอบแทนในภาคการเกษตรกรรมอยู่ ซึ่งเป็นโร้ดแมปของรัฐบาลที่จะทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเริ่มมีการเริ่มต้นวิเคราะห์ผิวดินสำหรับการพัฒนาด้านการเกษตรเหมือนกับที่เวียดนามด้วย
อย่างที่สองคือ เรื่องความอ่อนด้อยในด้าน R&D การวิจัยและพัฒนา ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว มีกรณีของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ก้าวล้ำในเรื่องนี้ ขณะที่ชาติในอาเซียนแทบจะมีเพียงน้อยนิดมาก ซึ่งมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เนเธอร์แลนด์กลายเป็นประเทศที่สร้างผลกำไรอย่างมหาศาลเป็นอันดับต้นๆของโลกในเวลานี้ในฐานะของประเทศผู้ส่งออกด้านกสิกรรม ซึ่งมีมูลค่าถึง 9.4 หมื่นล้านยูโร
อาจมีคำถามว่า ทำไมเป็นเช่นนั้น เนื่องจากการทำ R&D ต้องใช้งบประมาณสูงมาก กรณีของเนเธอร์แลนด์ทุ่มงบสำหรับด้านนี้ถึง 470 ล้านยูโร หรือเท่ากับประมาณ 3.3% ของ GDP ทางด้านการเกษตรทั้งหมด ในขณะที่บางประเทศใน ASEAN ใช้จ่ายเพื่องานวิจัยน้อยกว่า 1% จาก GDP ทางการเกษตรด้วยซ้ำ
ข้อสามคือ ASEAN ไม่ได้โฟกัสในด้านใดด้านหนึ่ง แต่จับประเด็นหลักกว้างเกินไป ซึ่งหากเทียบกันแล้ว กลุ่มประเทศ EU มีการวางสโคปของงานที่เป็นเอกภาพมากกว่า เหมือนกรณีของปัญหาเรื่องรถบรรทุกที่ต้องใช้เวลาในการเคลียร์สำหรับการข้ามพรมแดน ซึ่งก็ทำให้ชาติใน ASEAN ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับด้านการขนส่งขึ้นมาอีก ในขณะที่ EU สามารถตัดงบประมาณส่วนที่ไม่จำเป็นออกได้ รวมถึงความหลากหลายของชาติในอาเซียนเองที่จำเป็นต้องถูกแทนที่ด้วยผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นหรือที่โดดเด่นในแต่ละประเทศแล้วผสานความร่วมมือให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ หรือเรียกว่าการให้ความสำคัญกับตลาดกลางของ ASEAN ให้มากกว่านี้
ข้อสุดท้ายคือ เครือข่ายการขนส่งใน ASEAN ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 6 ประเทศในภูมิภาคที่ได้ชื่อว่ามีท่าเรือที่ติดอันดับท่าเรือ 25 แห่งที่มีความคึกคักมากที่สุด ซึ่งก็จำเป็นต้องยกระดับทางโครงสร้างพื้นฐานให้เพิ่มขึ้น โดยเรื่องนี้อยู่ในกรอบของแผนงานการพัฒนา ASEAN 2025 ซึ่งตามรายงานของธนาคารโลก สิงคโปร์ติดอยู่ในอันดับที่ 30 ของประเทศที่มีระบบ Logistics ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก แต่ก็ยังคงต้องพัฒนาภาพรวมของการแข่งขันเช่นกัน
ในท้ายที่สุดแล้ว การจำกัดขอบเขตธุรกรรมทางการเงินในอาเซียนควรต้องถูกยกเลิก ซึ่งจะเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการแปลงสกุลเงินดอลลาห์ไปเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของชาติในอาเซียนเพิ่มขึ้น รวมถึงทางธนาคารในภูมิภาคเอกงก็ควรที่จะผสมผสานการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย รวมถึงระบบกระเป๋าเงิน E-Wallet และ E-Payment ให้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นทางการเงินและเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อยต่อไป
การดำเนินงานดังกล่าวนี้ จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกษตรกรซึ่งได้รับผลของการขับเคลื่อนนี้จะทำให้เห็นบทบาทที่สำคัญในภูมิภาคนี้ต่อการสร้างความมั่นคงในห่วงโซ่การผลิตอาหารของโลกในอนาคตเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงคนกว่า 9,000 ล้านคนซึ่งจะเกิดขึ้นภายในปี 2050
Source: Nikkei